Popular Posts

Sunday, April 24, 2011

ขายส่งอาหารพืชชีวภาพ "กรีนพลัส"

ขายส่งอาหารพืชชีวภาพ "กรีนพลัส" ราคาถูก (ราคาขายปลีกขวดละ 60 บาท)

ส่ง  500 ขวด ราคา พิเศษ
ส่ง 1000 ขวด ราคาพิเศษ
ส่ง 3000 ขวด ราคาพิเศษ
ส่ง 5000 ขวด ราคาพิเศษ

สนใจสินค้าติดต่อ gentech999@gmail.com

ดูรายละเอียดสินค้าได้ที่นี่ คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ซื้อครบ 1000 ขวด แถมฟรี!! ป้ายโฆษณาส่งเสริมการขาย 2 ชุด



Thursday, April 21, 2011

คุณเป็นเจ้าของกิจการ ...อายุเท่าไรกันครับ??


ไม่ว่าธุรกิจเล็กๆ หรือธุรกิจปานกลาง-ใหญ่ ก็ได้ครับ อยากทราบว่า เป็นเจ้าของ เริ่มต้นกันตั้งแต่อายุุเท่าใด และทำธุรกิจ อะไรครับ ผมเริ่มตอน 29 หุ้นกับเพื่อนๆอีก 2 คน ตอนนี้ยอดขายต่อเดือนตก 5 หมื่นเองครับ เพราะทุกคนทำงานประจำอยู่ ซื้อขายกันทางโทรศัพท์ ไม่มีเซลล์วิ่งประจำ ตอนนี้ 36 แล้วครับ ยอดขายก็ยังขึ้นๆ ลงๆ บางเดือนดีหน่อยได้เป็นแสน บางเดือนน้อยหน่อยก็หลักหมื่น

ส่วนตัวทำงานประจำเงินเดือนห้าหมื่น มีคอนโดปล่อยเช่าอีกได้เดือนละเจ็ดพัน มีเงินลงทุนในหุ้น สองแสน เงินลงทุนในกองทุนรวม สองแสน และเงินเก็บอีกหนึ่งแสน แฟนทำงานเงินเดือนสองหมื่นห้า

มีแผนธุรกิจมากมาย แต่ยังไม่ลงตัว ช่วงวันหยุดที่ผ่านมาเริ่มเข้าถึงความต้องการในใจของตัวเองแล้วครับ ว่าแท้จริงแล้วเราต้องการอะไรกันแน่ สำหรับธุรกิจคงจะเริ่มจ้างมืออาชีพมารัน งานประจำก็ทำไปก่อน เมื่อถึงเวลาก็จะทำตามใจฝัน คงต้องใช้เวลาอีกซักระยะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ

จากคุณ : 968




Monday, April 18, 2011

การนำเข้ารถจากต่างประเทศ

ทะเบียน รถนำเข้า มี 2 แบบ
1 จดประกอบ ซึ่งขั้นตอนยุ่งยากมาก ต้องเสียเงินหลายขั้นตอน ทั้งต้องตรวจมาตรฐานอุตสาหกรรมด้วย

เฉพาะ มอก.ถ้าไม่ผ่านก็จบ เป็นเศษเหล็ก ตรวจได้ 3 ครั้ง และไปเสียภาษี สรรพสามิต และศุลกากร ก็จบ

2 จดรถเก่านำเข้า ต้องครบครองที่ญี่ปุ่น ไม่น้อยกว่า 1-2 ปี และต้องมีใบอินวอย์ ของคนที่ญี่ปุ่นส่งมาด้วย

และแจ้งทางญี่ปุ่นว่าจะนำกลับมาใช้ในประเทศไทย โดยไปแจ้งที่กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร

เช่นกัน เค้าจะออกใบ และคำนวนภาษีให้ก่อน ตัดสินใจว่าจะนำเข้าหรือไม่ มีการตัดค่าเสื่อมราคาให้

3 ลักลอบ นำเข้า และให้ศุลกากรจับ แล้วจึงไปประมูลจากกลุ่มศุลกากร ขั้นตอนง่าย แต่ภาษีก็แพง อาศัย

จนท. กรมศุลกากรช่วย ก็ง่าย โดยกรมศุล จะออกใบให้ไปขอเล่มทะเบียนที่ ขนส่ง ท้ายเล่มมีบันทึก

ด้วยว่า เป็นรถประมูล

http://www.customs.go.th/Formality/P...Vehicles.jsp#2

1. การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว

รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมงที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเป็นการชั ่วคราวและจะส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 6 เดือนจะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า โดยผู้ที่ประสงค์จะนำยานพาหนะส่วนบุคคลประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือสำราญและกีฬา หรือเรือประมง เข้ามาพร้อมกับตนเองเป็นการชั่วคราวต้องปฏิบัติตามหล ักเกณ์และเงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ให้ครบถ้วน

1.1 เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลช ั่วคราว

(1) ใบขนสินค้าพิเศษและมีสำเนา 5 ฉบับ

(2) ทะเบียนยานพาหนะ

(3) บัตรประจำตัวและหนังสือเดินทางของผู้ควบคุมยานพาหนะ

(4) หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะมิใช่เจ้าของ

(5) คำร้องขอนำรถเข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวเป็นการชั่วครา ว

(6) หลักฐานการซื้อขาย เช่น Proforma Invoice, Invoice

(7) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล

( สัญญาประกันการส่งกลับ

(9) เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)

1.2 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าชั่วคราวยานพาหนะส่วน บุคคล

(1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบ ต่อฝ่ายเอกสิทธิ์และส่งเสริมการลงทุน ส่วนการนำเข้า ของสำนักงานหรือด่านศุลกากรที่นำเข้า กรณีมีสิ่งของอื่นหรือผู้โดยสารและสิ่งของติดตัวผู้โ ดยสารเข้ามาพร้อมกับยานพาหนะ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องแจ้งกรมศุลกากรด้วย

(2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และกำหนดวงเงินค้ำประกันสำหรับการนำเข้านั้น ๆ

(3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักประกัน (เงินสดหรือ ธนาคารค้ำประกัน) ไปชำระที่ฝ่ายบัญชีและอากร

(4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการวางประกันมาแสดงต่อเ จ้าหน้าที่ศุลกากร

(5) กรมศุลกากรจะตรวจยานพานะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว จะมอบสำเนาใบขนสินค้าพิเศษ ให้ผู้นำเข้าไว้ 1 ฉบับ เพื่อใช้กำกับยานพาหนะและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเ มื่อนำยานพาหนะออกไปนอกประเทศไทย

1.3 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการส่งออกยานพาหนะส่วนบุคคล

(1) ผู้ส่งออกยื่นใบขนสินค้าพิเศษที่กรมศุลกากรออกให้ขณะ นำเข้าและสำเนา 1 ฉบับ พร้อมกับแบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.1) 1 ฉบับ แก เจ้าหน้าที่ศุลกากร

(2) กรมศุลกากรจะตรวจยานพาหนะและสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะถอนประกันทัณฑ์บนที่ผู้นำเข้าทำ ไว้กับกรมศุลกากรขณะนำเข้า

1.4 ข้อควรทราบในการนำเข้าชั่วคราวยานพาหนะส่วนบุคคล

(1) หากผู้นำเข้าไม่นำรถกลับออกไปในระยะเวลาที่กำหนดไว้ใ นสัญญาประกันทัณฑ์บน กรมศุลกากรจะบังคับสัญญาทัณฑ์บนเต็มจำนวนที่กำหนดไว้ โดยไม่มีการลดหย่อนทั้งสิ้น

(2) กรณีผู้นำเข้าต้องการขอขยายเวลาการนำรถออกนอกประเทศไ ทยตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันทัณฑ์บน ก็สามารถขอขยายเวลากับกรมศุลกากรได้อีกแต่ไม่เกิน 6 เดือน เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็น เช่น เครื่องยนต์เสีย หรือรถยนต์ถูกชนต้องเสียเวลาในการซ่อม ก็อาจขยายเวลาออกไปให้เกินกว่า 6 เดือนได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 8 เดือน นับแต่วันนำเข้า

(3) การประกันและการค้ำประกัน

ผู้นำเข้าสามารถวางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แต่สำหรับรถจักรยานยนต์ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเท ศนำเข้าทางสำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ให้ค้ำประกันตนเองได้

ในกรณีที่ผู้นำเข้าไม่สามารถจะวางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารได้จริงๆ กรมศุลกากรก็อาจพิจารณาอนุมัติให้ผู้นำเข้าค้ำประกัน ตนเองได้

การกำหนดเงินประกันและเงินค้ำประกัน กรมศุลกากรจะกำหนดโดยถือตามราคาบวกค่าภาษีอากรทุกประ เภทของรถที่นำเข้าเป็นยอดเงินประกัน

(4) การบังคับตามสัญญาประกัน

เมื่อครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน หรือผู้นำของเข้าได้แสดงความจำนงก่อนครบกำหนดดังกล่า วว่าไม่ประสงค์จะนำรถกลับออกไป กรมศุลกากรจะบังคับสัญญาประกันเต็มตามจำนวนที่กำหนดไ ว้โดยไม่มีการลดหย่อนใดๆ ทั้งสิ้น

ในกรณีที่มีผู้นำรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศทางเขตแดนทางบกเป็นก ารชั่วคราวและจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ 100 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 1,000 บาท

ในกรณีที่ผู้นำเรือเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคร าว และจะนำกลับออกไป แต่นำกลับออกไปไม่ทันภายในเวลาที่กำหนดตามที่ระบุไว้ ในสัญญาประกัน โดยไม่มีเจตนาฝ่าฝืนการปฏิบัติตามสัญญาประกันนั้น ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าปรับวันละ 500 บาท นับจากวันที่ครบกำหนดในสัญญาประกัน แต่ไม่เกิน 5,000 บาท

(5) คำว่า “เรือสำราญและกีฬา” หมายถึง เรือที่ใช้สำหรับหาความสำราญ หรือเรือที่ใช้เพื่อการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ และไม่ได้ใช้เพื่อการค้า การทหาร หรือการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร ์เรือสำราญและกีฬาหรือเรือประมงที่เข้ามาจากต่างประเ ทศนั้น นายเรือจะต้องมารายงานเรือเข้าเช่นเดียวกับเรือทั้งห ลายที่มาจากต่างประเทศ ส่วนเรือสำราญและกีฬาหรือเรือประมงที่เดินทางไปต่างป ระเทศ จะต้องยื่นใบสำแดงรายงานเรือออก และขอรับใบปล่อยเรือขาออกจากกรมศุลกากรด้วย

1.5 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความประสงค์จะขอทราบรายล ะเอียดพิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลชั่วคราว สามารถติดต่องานพิธีการ ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือ ฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนพิธีการนำเข้า สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้าทุกแห่งในวันและเวลาราชการ

2. การนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวรการนำเข้ารถยนต์ส่ วนบุคคลหากในลักษณะนี้ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าภาษีอาก รตามปกติ หากเป็นรถยนต์ใหม่ก็ให้ปฏิบัติพิธีการนำเข้าเช่นเดีย วกับการนำเข้าสินค้าอื่น ๆ แต่หากเป็นรถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วจะถือเป็นสินค้าควบค ุมการนำเข้ามาในประเทศไทย ในหลักการไม่อนุญาตให้นำเข้า เว้นแต่เป็นการนำเข้าชั่วคราวหรือการนำเข้าเฉพาะตัวท ี่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้เท่าน ั้น

2.1 หลักเกณฑ์การนำเข้ารถยนต์นั่งเก่าใช้แล้วแบบถาวร

(1) นำเข้ามาใช้ได้เองเพียงคนละ 1 คัน

(2) กรณีเป็นชาวต่างประเทศจะต้องเป็นผู้ที่จะเข้ามาอยู่ใ นประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยมีหนังสืออนุญาตการเข้าเมืองจากกองตรวจคนเข้าเมือ ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และใบอนุญาตทำงานของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมม าแสดงในการนำเข้าด้วย

(3) กรณีชาวไทยมีคู่สมรสเป็นชาวต่างประเทศ จะต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นคู่สมรสและนำรถยนต์เข้ามา เพื่อมีภูมิลำเนาในประเทศไทย รวมทั้งผู้นำเข้าต้องถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองรถยนต ์คันนั้นระหว่างอยู่ในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จนถึ งวันที่เดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทย

(4) กรณีเป็นชาวไทย ต้องเป็นชาวไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศติดต่อกันเป็นเวลา เกินกว่า 1 ปี 6 เดือน แล้วเดินทางกลับมามีภูมิลำเนาในประเทศไทย และถือกรรมสิทธิ์ครอบครองรถยนต์คันนั้นอยู่ในระหว่าง อยู่ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือนและมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์



2.2 เอกสารที่ควรจัดเตรียมการนำเข้ารถยนต์แบบถาวร


(1) เอกสารทั่วไป

ใบขนสินค้าขาเข้า ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ

ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill)

เอกสารการซื้อขายรถยนต์ (ถ้ามี)

ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1)

แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) กรณีสินค้านำเข้ามีราคา CIFเกิน 500,000 บาท

ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)

เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือมอบอำนาจ

(2) เอกสารเพิ่มเติมกรณีเป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว

ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน

หนังสือเดินทาง กรณีย้ายภูมิลำเนา

ทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนการใช้งานที่ต่างประเทศมาแ ล้ว

ใบอนุญาตการนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์


2.3 ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ

(1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นใบขนสินค้าพร้อมเอกสารประกอบ ต่อฝ่ายการนำเข้าที่ 4 ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้า

(2) กรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ หากเอกสารถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้า และประเมินค่าภาษีอากรที่ผู้นำเข้าจะต้องชำระ

(3) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนไปชำระเงินค่าภาษีอากรที่ฝ่ายบัญ ชีและอากร

(4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำหลักฐานการชำระเงินมาแสดงต่อเจ ้าหน้าที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อรับของออกจากอารักขาศุล กากร


2.4 หลักเกณฑ์การประเมินอากร

(1) กรมศุลกากรกำหนดเกณฑ์การประเมินราคาโดยใช้ราคา CIF ( ราคา + ค่าประกันภัย+ค่าขนส่ง ) เป็นฐานการประเมินอากรนำเข้า

(2) ราคารวมค่าภาษี เป็นราคาที่รวมการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพ สามิต ( ถ้ามี ) เข้าไว้ ณ. วันที่ชำระค่าภาษีรถยนต์

(3) กรณีที่เป็นรถยนต์เก่าใช้แล้ว จะกำหนดส่วนลดตามระยะเวลาที่จดทะเบียนให้ ดังนี้


อัตราส่วนลดราคารถยนต์นั่งใช้แล้ว

1. จดทะเบียนใช้แล้วไม่เกิน2 เดือน

หักส่วนลด 2.50%

2. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน

หักส่วนลด 5.00%

3. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน

หักส่วนลด 7.50%

4. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 8 เดือน

หักส่วนลด 10.00 %

5. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 เดือน แต่ไม่เกิน 10 เดือน

หักส่วนลด 12.50 %

6. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 10 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี

หักส่วนลด 15.00 %

7. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 1ปี2 เดือน

หักส่วนลด 16.67 %

8. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี4 เดือน

หักส่วนลด 18.33 %

9. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี6 เดือน

หักส่วนลด 20.00 %

10. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 1 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี8 เดือน

หักส่วนลด 21.67 %

11. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า1 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี10 เดือน

หักส่วนลด 23.33 %

12. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า1 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี

หักส่วนลด 25.00 %

13. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี แต่ไม่เกิน 2ปี2 เดือน

หักส่วนลด 26.67 %

14. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี4 เดือน

หักส่วนลด 28.33 %

15. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี6 ดือน

หักส่วนลด 30.00 %

16. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี8 เดือน

หักส่วนลด 31.67 %

17. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า2 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 2ปี10 เดือน

หักส่วนลด 33.33 %

18. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 2 ปี10 เดือนแต่ไม่เกิน 3 ปี

หักส่วนลด 35.00 %

19. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี2 เดือน

หักส่วนลด 36.67 %

20. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี4 เดือน

หักส่วนลด 38.33 %

21. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 3ปี6 เดือน

หักส่วนลด 40.00 %

22. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี8 เดือน

หักส่วนลด 41.67 %

23. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี10 เดือน

หักส่วนลด 43.33 %

24. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า3 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี

หักส่วนลด 45.00 %

25. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี2 เดือน

หักส่วนลด 46.67 %

26. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี4 เดือน

หักส่วนลด 48.33 %

27. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน4 ปี6 เดือน

หักส่วนลด 50.00 %

28. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี8 เดือน

หักส่วนลด 51.67 %

29. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 4 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี10 เดือน

หักส่วนลด 53.33 %

30. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า4 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน5 ปี

หักส่วนลด 55.00 %

31. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า5 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี2 เดือน

หักส่วนลด 55.83 %

32. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี4 เดือน

หักส่วนลด 56.67 %

33. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี6 เดือน

หักส่วนลด 57.50 %

34. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี8 เดือน

หักส่วนลด 58.33 %

35. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า5 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี10 เดือน

หักส่วนลด 59.17 %

36. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 5 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี

หักส่วนลด 60.00 %

37. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี2 เดือน

หักส่วนลด 60.50 %

38. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี4 เดือน

หักส่วนลด 61.00 %

39. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี6 เดือน

หักส่วนลด 61.50 %

40. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 6 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี8 เดือน

หักส่วนลด 62.00 %

41. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 6 ปี10 เดือน

หักส่วนลด 62.50 %

42. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า6 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี

หักส่วนลด 63.00 %

43. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี2 เดือน

หักส่วนลด 63.50 %

44. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี4 เดือน

หักส่วนลด 64.00 %

45. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า7 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี6 เดือน

หักส่วนลด 64.50 %

46. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี6เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี8 เดือน

หักส่วนลด 65.00 %

47. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี8เดือน แต่ไม่เกิน 7 ปี10 เดือน

หักส่วนลด 65.50 %

48. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 7 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี

หักส่วนลด 66.00 %

49. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี2 เดือน

หักส่วนลด 66.33 %

50. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี4 เดือน

หักส่วนลด 66.67 %

51. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี6 เดือน

หักส่วนลด 67.00 %

52. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี8 เดือน

หักส่วนลด 67.33 %

53. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 8 ปี10 เดือน

หักส่วนลด 67.67 %

54. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 8 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี

หักส่วนลด 68.00 %

55. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี แต่ไม่เกิน 9 ปี2 เดือน

หักส่วนลด 68.33 %

56. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี2 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี4 เดือน

หักส่วนลด 68.67 %

57. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี4 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี6 เดือน

หักส่วนลด 69.00 %

58. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี6 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี8 เดือน

หักส่วนลด 69.33 %

59. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี8 เดือน แต่ไม่เกิน 9 ปี10 เดือน

หักส่วนลด 69.67 %

60. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 9 ปี10 เดือน แต่ไม่เกิน10 ปี

หักส่วนลด 70.00 %

61. จดทะเบียนใช้แล้วเกินกว่า 10 ปี



--------ประเมินราคาตามสภาพรถ-----------


(4) หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าภาษีอากร เป็นไปตามที่กรมศุลกากรประกาศกำหนดไว้ชัดเจน



2.5 ตารางแสดงอัตราภาษีอากร

ประเภทรถยนต์ ขนาดปริมาตรช่วงชักภายใน

กระบอกสูบ อากร

(%) สรรพสามิต

(%)

(ตัวคูณ) ภาษีเพื่อ

มหาดไทย*

(%) VAT

(%) อัตราอากร

รวม (%)

ของ CIF

1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคล - ไม่เกิน 2400 ซีซี

- เกิน 2400 ซีซี แต่ไม่เกิน 3000 ซีซี

และมีกำลังไม่เกิน 220 แรงม้า


- ไม่เกิน 3000 ซีซี หรือมีกำลังเกิน

220 แรงม้า 80

80

80 35

(0.5691057)

42

(0.7468124)

48

(1.0169492) 10

10

10 7

7

7 213.171

250.82

308.051

2. รถยนต์นั่งตรวจการณ์

(OFF ROAD)

ตามประกาศกระทรวง-

การคลัง - ไม่เกิน 2400 ซีซี

- เกิน 2400 ซีซี แต่ไม่เกิน 3000 ซีซี

และมีกำลังไม่เกิน 220 แรงม้า 80

80 29

(0.4258443)

29

(0.4258443) 10

10 7

7 182.819

182.819

* ภาษีเพื่อมหาดไทยจะคิดเป็น 10 % ของภาษีสรรพสามิต

วิธีคิดอัตราอากรรวมของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดปริมา ตรช่วงชักภายในกระบอกสูบ ไม่เกิน 2400 ซีซี

ถ้าราคา CIF ของรถยนต์นั่ง

= 100

อากรขาเข้า

= 80%

ภาษีสรรพสามิต

= 35%

ภาษีเพื่อมหาดไทย

= 10%

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

= 7%

วิธีคำนวณ

1. อากรขาเข้า = (ราคา CIF x อัตราอากรขาเข้า)

= (100 x 0.

= 80

2. ภาษีสรรพสามิต = (ราคา CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีสรรพสามิต/ 1-(1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต)

= (100 + 80) x 0.35/ 1-(1.1 x 0.35)

= 180 x 0.5691057

= 102.439

3. ภาษีเพื่อมหาดไทย = ภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย

= 102.439 x 0.1

= 10.2439

4. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม = ราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย

= 100 + 80 + 102.439 + 10.2439

= 292.6829

5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

= 292.6829 x 0.07

= 20.4878

รวมอัตราอากรทั้งหมด = 1 + 2 + 3 + 5 = 213.171


2.6 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความประสงค์จะขอทราบรายล ะเอียดพิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคลแบบถาวร สามารถติดต่อฝ่ายการนำเข้า ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ หรือฝ่ายเอกสิทธิและส่งเสริมการลงทุน ส่วนการนำเข้า สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่นำเข้าทุกแห่งในวันและเวลาราชการ



Sunday, April 17, 2011

ถ้าเรามีทุนต้องการร่วมทุนกับธุรกิจ SME ที่มีความสามารถแต่ขาดสภาพคล่องได้ที่ไหน

พูดง่าย ๆ ก็คือมีผู้ประกอบธุรกิจ SME ที่มีไอเดีย ดี ๆ มีความเป็นไปได้สูง มีผลกำไรแน่นอน และมีความสามารถในการบริหาร จัดการ แต่ขาดเงินทุน แต่ผมต้องการไปเป็นหุ้นส่วนโดยการออกทุนแล้วแบ่งผลกำไรกันแบบนี้


1. ไม่ทราบว่าจะหาแหล่งลงทุนกับบุคคลเหล่านี้ได้ที่ไหนบ้างครับ
2. แล้วในการร่วมหุ้นจะมั้นใจเรื่องความปลอดภัยได้อย่างไร
3. มีหน่อยงานที่เป็นสือกลางให้ผู้ลงทุน กับ ผู้ประกอปการใด้เจอกันไหม

ปล. ยอมรับความเสี่ยงได้ แต่ไม่ทราบแหล่งที่มาของผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องครับ

จากคุณ : MR.rank

มีเงิน และจะเอาไปลงทุนกับใครซักคนก็ได้ โดยไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า ไม่รู้นิสัยใจคอ ไม่รู้ความสามารถ ไม่รู้ว่าเขาจะโกงหรือเปล่า ไม่รู้จะหาSMEที่ไหน ไม่รู้อะไรเลย...


รู้แค่ว่า มีเงิน และอยากจะลงทุน

(เดาว่า จขกท. คงอยากจะเอาเงินไปลงทุน และตัวเองก็นั่งกระดิกนิ้วรอผลกำไร)

ผมว่าคุณน่ะ เอาเงินไปเล่นหุ้นซะยังจะดีกว่าเลย

หรือไม่ก็ ปล่อยเงินกู้ให้ SME ยังจะดีซะกว่า

หรือถ้า จขกท. มีฝีมือการบริหารจัดการ บ้างล่ะก็

แนะนำว่า ให้เดินไปตาม อาชีวะ,มหาลัยเทคโนโลยี่ ต่างๆเลย

เข้าไปคุยกับ คณะอาจารย์เลย ว่า "อยากจะมาหาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ จะซื้อลิขสิทธิ์ เอาไปผลิตและทำการตลาด"

คุณรู้ไหม เด็กไทยเราเนี่ย มีสิ่งประดิษฐ์เจ๋งๆที่คุณอาจจะคาดไม่ถึงเลยก็ได้

ลองไปหาดูสิ แล้วเอามาพัฒนาทำธุรกิจ น่าจะดีไม่น้อย

จากคุณ : aumpaump12

ที่ต่างประเทศเขามีการร่วมทุนแบบนี้เยอะมากจนเป็นเรื่องปกติ แต่ที่ประเทศไทยยังไม่มีการร่วมทุนแบบนี้เพราะไม่กล้าเสี่ยง+ไม่ไว้ใจ และไม่มี วิธีป้องกันความเสี่ยงอย่างรัดกุม จึงทำให้ต้องไปเสียโอกาสให้กับ ธนาคาร ไปทั้ง ๆ ที่มีผู้ร่วมทุนมากมายที่ไม่มีต้นทุนทางดอกเบี้ย
วิธีการควบคุมตร่าว ๆ นะครับยังไม่ลงลายละเอียด

- เราต้องรู้แผนการดำเนินงานร่วมกับเขาก่อน แล้วจึงตัดสินใจถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เรื่องการแยกตัวการโกง ยักยอก อันนี้เราต้องทำสัญญาให้รัดกุม ส่วนถ้าเราลงทุนและเขาลงแรงก็แปลว่าเขาก็ต้องเสียแรงเสียเวลาดังนั้นถ้าเขาจะไม่ทุ่มเทแรงกายแรงใจก็ถือว่าเราดูแผนการดำเนินการผิด (ยอมรับความเสี่ยงอยู่แล้ว) แต่เขาจะทำอย่างนั้นไปเพิื่ออะไรก็ต้องดูที่เหตุผลอีกที และเมื่อผมไม่ได้เชี่ยวชาญธุรกิจจะบริหารงานได้อย่างไร ? อันนี้ก็ต้องมีการคล้าย ๆ ประชุมผู้ถือหุ้นหากมีนโยบายสำคัญ ๆ ต้องเอาข้อมูลมาแชร์กันแล้วโหวตตัดสินใจดูอีกที

เป็นเรื่องที่น่าแปลกตรงที่ว่า ทีเวลาเราเอาเงินเราไปซื้อหุ้นที่ ตลท. โดยบางทีแทบไม่รู้จักผู้บริหาร ธุรกิจเป็นอย่างไรก็ไม่รู้จักด้วยซ้ำเรายังกล้า แต่การลงทุนร่วมกับผู้ประกาบการ sme ที่ขาดสภาพคล่องแต่มีแน้วโน้มผลกำไรเห็น ๆ ยังไงเราก็ต้องเข้ารู้ลายละเอียดทาง ธุรกิจ อยู่แล้วทำไมผมจะไม่กล้ายิงท่ามีแหล่งให้นายทุน กับ ผู้ประกอบการได้เจอกันหลากหลายผมยิ่งได้เลือกกิจการที่ผมรู้จัก ถนัด และมองออก

ปล. ความเสี่ยงนะมีแน่ไม่ต้องห่วงครับ แต่เชื่อเถอะครับว่า ความเสี่ยงจะผันแปลโดยตรงกับผลกำไร ...






Saturday, April 16, 2011

มาแชร์ประสบการณ์ ในอาชีพที่ตัวเองทำอยู่กันเถอะ

อยากให้เพื่อนๆแนะนำอาชีพที่ตัวเองทำอยู่ แนะนำโปรไฟล์ตัวเองอย่างย่อๆ


เช่น การศึกษา การสมัครงานในตำแหน่งนั้น รายได้ ข้อดีข้อเสียของงานที่ตัวเองทำ ประสบการณ์ที่ได้ ฯลฯ ....

เผื่อเป็นแนวทางให้คนที่กำลังวางแผนเรียน หรือคนที่กำลังคิดจะเปลี่ยนงาน

เริ่มของผมก่อนเลยนะ

ครับอายุ 27 จบบริหาร การจัดการมาครับ

เคยทำเ็ป็นพนักงานบริษัทมาก่อน 4 ปี เริ่มที่ Admin บริษัทยา จากนั้นเปลี่ยนงานมาทำ Marketing และก้อ Sale-Co กับ 2 บริษัท แต่อยุ่ในวงการ Property ตลอด เคย start เงินเดือนที่ 9k ออกจากที่สุดท้าย ได้ 15k+com

ปีที่ 4 ทะเลาะกับเจ้านาย ความเห็นไม่ตรงกัน อีกทั้งมีภาระทางครอบครัวมากขึ้น ตัดสินใจลาออกมาเป็น Freelace agency ตัวแทนเช่า/ขาย ห้องคอนโด และบ้าน ทำข้อมุลเอง โฆษณาเอง วิ่งรับลุกค้าเอง เดินเรือ่งเอกสารเอง อาศัยประสบการณ์ เก่าๆ และ connection ที่มีอยู่ และที่ เอามาขยายต่อ ,กับ process ต่างๆซึ่งได้เรียนรุ้มา เอามาปรับให้เข้ากับสไตล์เรา

จนตอนนี้เป็น Freelance เต็มตัว

3 เดือนแรกที่ออกมาเครียดมาก - -" ไม่มียอดเลยครับ เจอเสื้อแดงอีก

เข้าเดือนที่ 4 เริ่มปิด case แรกได้ มีกำลังใจ,ต่อจากนั้น ก้อลองผิด ลองถูก ค่อยปรับระบบ ค้นหาเทคนิค วิธีการ ก้อค่อยๆดีขึ้นๆ จาก 30-70k เฉลี่ย จน2เดือนล่าสุด 130k กับ90k/เืดือน

สรุปทำ freelance มาปีเศษๆแล้ว คิดว่าคงไม่กลับไปทำบริษัทอีก

ข้อดี
- ภาษีไม่เสีย ควบคุมเวลาได้ เอาเวลารถติดๆ ไปทำอย่างอื่น มีเวลาทำกิจกรรมอื่นๆมากขึ้น
-ไม่ต้องตอกบัตร หรือไม่ต้องมีใครมาบงการชีิวิต (เพราะเรา control เวลาเองได้)
- ท้าทายมากๆ เจอกับต่างชาติ ขับรถไปหลายๆึตึก หลายๆที่ หลายสถานการณ์ มีปัญา 108 ที่ต้องแก้เฉพาะหน้า ไม่เบื่อแม้วันมามาก

ขอ้เสีย
- เสี่ยงมาก ถ้าปิดไม่ได้ ก้อไม่มีเงินเดือนนั้น เพระมีค่ารถ ค่าโทรศัพท์ตายตัว
- ไม่มีสังคมเพือ่นoffice แต่ไม่ซีเรียสเพราะมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น เพือ่นเก่ายังมีอยุ่
- ความรับผิดชอบสุงมาก เรือ่งเวลานัด เอกสาร หรือคำพูด ต้องแ่่ม่นและผิดพลาดให้น้อยที่สุด
- ไม่มีสวัสดิการ และประกันสังคม - - "
- เครียดเป็นช่วงๆ แต่ทุกปัญหามีทางออกเสมอ

อีกธุรกิจนึงที่ทำควบกันอยู่เป็น part คือซื้อมาขายไป

เป็นของชำร่วยใช้แจกงานฌาปนิจ งานศพ งานบุญได้ ส่งเจ้าภาพพิธีฯ งานนี้ทำกำไร 50% ของทุน แต่เดือนนึงเฉลี่ยไม่เยอะครับ เน้นลุกค้าทางเนต แต่จะค่อยๆประชาสัมพันธ์ไปทางวัดตางๆ ทั่ว กทมฯ ก็เป็นอีก job นึงที่ดีกว่าเอาเงินไปฝากธนาคาร

*งานทุกอย่าง ในโลกนี้ ถ้ามีคนทำได้ เราก้อน่าจะทำได้ * ถูกไหมคับ ^ ^"

ขอให้ทุกคนมีแรงจูงใจที่จะก้าวต่อครับ ก้าวแรกมันจะยากลำบาก แตเชื่อว่าถ้าไม่ลองก้าวดู แล้วจะรุ้ได้ไงว่่าทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

จากคุณ : konbaa

ผมจบสถาปัตย์รั้วสีชมพู ตอนเพิ่งจบแหกคอกมาก อยากทำอนิเมชั่นการ์ตูน แต่ไม่มีที่ไหนรับเข้าทำงาน ที่ๆรับผมทำงานที่แรก เป็นงานเกี่ยวกับออกแบบเว็บไซต์ ก็เลย ทำก็ได้ เพราะเป็นเด็กต่างจังหวัด ต้องจ่ายค่าเช่าห้อง+อื่นๆ อีกเลือกไม่ได้ ก็ค่อยๆปรับไปก็ได้ฟะ


ย้ายงานสัก 3-4 ที่ เพราะเป็นการสาดโคลนกันของเพื่อนร่วมงานและเจ้านายเห็นแก่ตัวเป็นประเด็นหลัก แม้ที่ๆเคยทำงานที่สุดท้าย ที่คิดว่าเจ้านายจะดีแล้ว สุดท้ายก็เหมือนเดิม ก็เริ่มปลง ที่ไหนๆก็คงเหมือนกัน จึงออกมาเป็นฟรีแลนซ์

เล่าก่อนว่า ระหว่างยังทำงานประจำนี่ จะบ้าพลังพอสมควร เลิกงานกลับมาจะหาอะไรทำเสมอ เช่น ขายของผ่านเน็ต, อ่านหนังสือ, ไปเรียนภาษาอังกฤษ เรียกได้ว่า แทบไม่ได้ไปเที่ยวไหนเลย เพื่อหาทางรอดของชีวิตตัวเอง จึงต้องพยายามให้มาก แต่สิ่งที่ทำ ก็ล้มเหลว แต่เราก็ได้วิธีคิดดีๆ ติดมือกลับมา

เล่าต่อ ผมเป็นฟรีแลนซ์ web design ในรูปแบบที่หาเอง ผมคุยไม่เก่ง ไม่มีเส้นสาย ไม่มีอะไรเลย งานที่ผมทำมาตลอดคือ ออกแบบอย่างเดียว เขียนโปรแกรม หรือทำอย่างอื่นไม่เป็นเลย เป็นที่ต้องการในตลาดน้อยมาก ถ้าคิดอย่างเป็นกลาง คือ แย่สุดๆ แต่เราก็ต้องหาวิธีทุ่นแรง วิธีที่หามาได้คือ

หางานออกแบบทางเน็ตครับ ชาวต่างชาติหลายคนอยากได้งานในราคาถูก แต่ถ้าจ้างคนในประเทศตัวเอง มันจะแพงมาก จึงหาคนทำงานออกแบบทั่วโลกผ่านเน็ต เราก็อยากทำงานอยู่บ้านโดยไม่ต้องไปเจอลูกค้า อีกอย่างงานเรามันส่งกันทางเมลได้ เข้าล๊อคพอดี ฝรั่งจะให้ค่าจ้างที่ "ถูก" สำหรับเค้า แต่สำหรับคนไทย ผมว่ามันก็ "มากพอใช้" อยู่นะ สำหรับคนที่เคยมีเงินเดือนเพียง 30K

ทำมา 2 ปีแล้ว เงินที่ได้เหลือเก็บมากกว่าที่เคยได้พอสมควร เอาไปศึกษา ลงทุนในหุ้นด้วย เรียกได้ว่า ชีวิตดีขึ้นมาเป็นคนละคนในเวลาเพียง 2 ปี ทั้งนี้ผมสรุปได้คิดว่าน่าจะมีสัก 3 อย่างที่ทำให้เรามาถึงตรงนี้ได้
1. ความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ อันนี้สำคัญที่สุด
2. เพื่อนที่ดี คิดดี เก่ง จะช่วยทุ่นแรงในการเรียนรู้ให้กับเรา
3. แฟนที่ดี ช่วยเป็นคู่คิด และเป็นกำลังใจให้

จากคุณ : อาร์ตี้
สนับสนุนโดย



















(คลิ๊กเพิ่มชมภาพขยาย)

ลูกจ้าง หรือ เจ้าของกิจการ ?

พอดีเพิ่งได้เริ่มทำงานจริงๆจังๆ ขอเกริ่นก่อนนะครับ


เพราะเพิ่งจบน่ะครับ แต่จริงๆแล้วเคยทำธุรกิจส่วนตัวมาก่อนระหว่างเรียน ซึ่งตอนนี้ทำงานที่ทำงานก็ได้อีกอารมณ์นึง ไม่เหนื่อยกาย แต่รู้สึกวันๆนึงมันมันไปอย่างไม่เกิดไรขึ้นมา แล้วมันจะเป็นอย่างนี้ไปตลอดเลยหรือเปล่า ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้คิดไว้แล้วว่าจะเรียน โท เรียนภาษา บลาๆๆ หลายๆอย่าง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ทำงานแล้วก็รู้สึกว่าเวลาหลังเลิกงานมันช่างน้อยนิด ไม่อาจจะทำอะไรมากมายเช่นนั้นได้ และวันนึงมีพี่ผู้บริหารคนนึงเขาแนะนำหนังสือเล่มนึงให้ ชื่อ เงินสี่ด้าน แล้วส่วนตัวชอบอ่านพวก know how อยู่แล้ว ก็เลยลุยอ่านซะ แต่ก็ยังไม่จบนะครับ แบบว่าอ่านได้สัก ครึ่งเล่ม ไอความรู้สึกอยากกลับไปทำธุรกิจส่วนตัวก็พุ่งพล่านกลับมาแบบว่า ทำตัวเป็นลูกจ้างแบบนี้อายุ 30 เงินเดือน 20-30k ก็คงไม่เกินนี้ กลับกันหากไปทำธุรกิจส่วนตัว น่าจะมีเงินเฉลี่ย 30k อายุไม่เกิน 25 ซึ่งถ้าถามผมว่าทำอะไรถึงจะได้ หรือคิดแล้วหรอว่าจะทำอะไร ก็คิดว่ามีค่อนข้างเยอะนะครับที่คิดไว้ แต่สำคัญตรงที่ผมอาจจะมีประสบการณ์น้อย ทำอะไรไปอาจจะล้มเหลวสูง ซึ่งอาจจะต่างกับพวกที่อายุเยอะๆแล้วออกมาทำธุรกิจ ซึ่งมันอยู่ในรูปแบบความกลัวที่จะล้มเหลว กลัวเวลาที่เสียไปกับการทำธุรกิจ แต่ด้วยความมั่นคงจากเงินเดือนที่ได้ทุกวันนี้มันก็ได้แค่ความมั่นคง แต่ไม่มีทางได้อิสรภาพทางการเงิน

ผมอยากจะถามว่าในอายุประมาณผม (22-23) นี้เร็วไปมั้ยกับการลงทุนทำกิจการที่ต้องขอหยิบยืมเงินลงทุนจากพ่อแม่มาลงทุนแล้วก็ควบคุมความเสี่ยงคนเดียว บริหารจัดการต่างๆ โดยยังมีประสบการณ์ไม่มาก หรือควรจะรอระยะเวลาศึกษาธุรกิจตรงนั้นไปก่อน ซึ่งผมก็ไม่อยากให้มันผ่านไปนานมาก ด้วยอายุที่มากขึ้นๆของผมมันไม่อาจมานั้งรอเวลา โอกาสของธุรกิจที่เปิดขึ้นมันก็มีไม่บ่อยผมคิดว่างั้นนะ

สรุปแล้วมันอาจจะฟังดูเหมือนมาบ่นๆ งงๆ กะชีวิต แต่ผมอยากได้ความคิดเห็นจากคนที่เคยทำงานหรือยังทำอยู่น่ะครับ ว่าคิดยังไง อายุ ช่วงวัยที่เหมาะสมกับธุรกิจ ผมไม่ได้เจาะจงธุรกิจนะครับว่าประเภทไหน แต่อยากรู้ว่าพี่ๆที่เคยทำน่ะ มีประสบการณ์แค่ไหน นานกี่ปีจริงๆ ถึงจะมาลงสนามธุรกิจของจริง

จากคุณ : chadowing

หนังสือ เงินสี่ด้าน ผมว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นสู่ Financial Freedom แล้วครับ


ส่วนเรื่องการเริ่มต้นกิจการส่วนตัว ผมมองว่าถ้าคุณไม่ใช่ประเภทเก่งจริง เวลานี้อาจจะเร็วไปหน่อย

คุณอาจจะหางานประจำทำไปก่อน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ทำงานการเป็นลูกจ้าง ไว้ซัก 26-28 ค่อยเริ่มออกมาก็ได้

เวลานี้ อาจจะเร็วไปในเรื่องการสร้างกิจการส่วนตัว แต่ถ้ามองในเรื่องการออมและการลงทุน

รีบ ๆ ทำเดี๋ยวนี้เลยครับ วางแผนการเงินซะ ออมเงิน สร้างสินทรัพย์ สร้าง passive income

ใช้เงินทำงาน เช่น ลงทุนในหุ้นเพื่อกระแสเงินสด ซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ฯลฯ

ผมว่าไม่เกิน 10 ปี คุณได้สมหวังแน่ ๆ

จากคุณ : Morning Star

 เงินสี่ด้านเป็นหนังสือที่ดีมากอีกเล่มหนึ่ง


สำหรับการเปิดมุมมอง ให้แนวคิด

เกี่ยวกับการบริหารเงิน การบริหารชีวิต

ถ้ามีแนวคิดประมาณนี้ แนะนำให้อ่านหนังสือชุดพ่อรวยสอนลูกนะ

คุณจะได้ไอเดีย ได้แนวคิด เพิ่มอีกเยอะ



โดยตัวเราเอง ...ยอมรับว่า

การลงทุนในหุ้น การมีธุรกิจส่วนตัว ในปัจจุบัน

เป็นผลมาจากมุมมอง และระบบความคิด ที่ได้จากหนังสือชุดนี้เยอะพอควร

สำหรับ จขกท. คิดได้ขนาดนี้ โอเคมากแล้วค่ะ

แนะนำให้หาสิ่งที่ตัวเองชอบ ทำ แล้วเรามีความสุข

ลุย เลยค่ะ ทำให้เต็มที่

บทเรียน ประสบการณ์ จะเป็นตัวดึงเอาศักยภาพของคุณออกมาเอง

เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม คุณก็จะยืนได้อย่างมั่นคง

เชื่อมั่นในตัวคุณ chadowing และเป็นกำลังใจให้นะคะ *__*

จากคุณ : Mossard









แนะนำวิธีทำเว็บเพจโฆษณาบน Facebook

Facebook มีช่องทางให้สมาชิกสร้าง Fan page ของตัวเองได้อยู่แล้ว ถ้าคุณเล่น Facebook คุณก็สร้าง Fan page ของตัวเองขึ้นมาได้ ดังนั้นถ้าคุณต้องการโฆษณาสินค้าหรือบริการ หรือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของหน่วยงานผ่านทาง Facebook คุณก็ทำได้ทันที ผ่านช่องทางของ Fan page นี่เอง ปัญหาอยู่ที่ว่า จะสร้างหน้า fan page ของเราเองให้สวย ๆ กันยังไง เพื่อที่จะใส่ลงไปในหน้า Fan page ของ Facebook


ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า คุณต้องใช้ Facebook สร้าง fan page ขึ้นมาก่อน คุณถึงจะมีพื้นที่สำหรับแสดง fan page สวย ๆ ของคุณเอง ถ้าคุณยังงง ๆ ไม่เป็นไรครับ เดี๋ยวเรามาดูกัน

บทความนี้จะแนะนำคุณ ๆ ให้รู้จักเครื่องมือการสร้าง fan page ได้อย่างง่าย ๆ และฟรีอีกต่างหากโดยแอพพลิเคชั่นบน Facebook ที่ชื่อว่า PageZoo เนื้อหาของบทความจะครอบคลุมเฉพาะในส่วนของวิธีการสร้างหน้า fan page เท่านั้นนะครับ ไม่ครอบคลุมในเรื่องของการนำหน้า fan page ไปเผยแพร่

ไปที่เว็บไซต์ http://www.pagezoo.com/
 แล้วคลิกที่ปุ่ม Get Started


จากคุณ : เงียบมานาน






ใครสนใจทำธุรกิจส่งออกบ้างครับ.. มาแชร์กัน.. ใครสนใจทำธุรกิจส่งออกบ้างครับ.. มาแชร์กัน..

ผมเป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง.. ที่ทำงานรับเงินสิ้นเดือนทุกเดือน..


แต่สองสามปีที่ผ่านมา.. ผมมีแผนสองคือ ได้ลองทำธุรกิจเล็กๆ เอาไว้.. (หุ้นกับเพือนอีกสองคน) และกำลังวางแผนที่จะทำส่งออกครับ.. รายละเอียดที่นี่เลยครับ.. www.bio-gentech.com

เพื่อนผมมันเป็นวิศวกรโรงงาน.. และถูกเลย์ออฟ.. มารับช่วงต่อจากพ่อ..

พ่อเพื่อนทำธุรกิจส่งออก.. ไม่มีโรงงานเป็นของตัวเอง.. เป็นนายหน้า.. เงินดีกว่าที่ทำงานหลายเท่า..

ที่น่าอิจฉาคือทำงานอยู่กับบ้านครับ.. อยู่กับครอบครัว อยู่กับพ่อแม่.. (อันนี้เป็นความฝันของผมเรย..ย..) ออกไปติดต่องานเดือนนึงไม่กี่วัน..

สำหรับผมเวลาที่อยู่กับครอบครัวนี่มันสุดๆ เลยครับ.. ผมว่ามันสำคัญกว่าเงินเสียอีก..

เข้าเรื่องครับ.. ถ้าเราจะเริ่มทำธุรกิจส่งออก (นายหน้า) เพื่อนๆ มีข้อแนะนำยังไงบ้างครับ.. ใครมี ปสก.แชร์กันได้นะครับ..

ยินดีรับฟังทุกคำแนะนำครับ..

...


รวยด้วยทองกับนายแว่นธรรมดา คลิ๊กเลย!!

ธุรกิจกระเป๋าผ้าทำมือ คลิ๊กที่นี่!!

การลงทุนคืออะไร คลิ๊กเลย!!

เริ่มต้นการลงทุนกับนายแว่นธรรมดา คลิ๊ก!!

ความต้องการของลูกค้าจะหามาได้อย่างไร?

ความต้องการของลูกค้าจะหามาได้อย่างไร?


ธุรกิจมากมายที่มีแนวคิดที่ยอดเยี่ยม มีแนวโน้มที่ดี กลับล้มไม่เป็นท่าเนื่องจากไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง..


ความต้องการของลูกค้าจะหามาได้อย่างไร?

คำตอบก็คือการวิจัยความต้องการของตลาดในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง.. แต่รูปแบบที่นิยมกันมากก็คือ แบบสอบถาม หรือโพล จากสำนักต่างๆ

ข้อมูลเหล่านี้เราอาจหาได้จากเอกสารเผยแพร่ทั่วไป แต่ถ้าเป็นข้อมูลเฉพาะ เราอาจต้องว่าจ้างบริษัทที่จัดทำข้อมูลเหล่านี้เพิ่มใช้เป็นแนวทางในการสร้างธุรกิจให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุดนั่นเอง..

รับสมัครตัวแทนจำหน่ายอิสระ คลิ๊กที่นี่!!


Green Generation Green Pluss